การจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทย
คู่สมรสฝ่ายสัญชาติเยอรมันจะต้องนำ “หนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้”ในประเทศไทย
(ชื่อภาษาเยอรมันว่า Ehefähigkeitszeugnis อ่านออกเสียงว่า
เอ-เฮอ-แฟ-ฮิก-ไคท์-ซอยก์-นิส) ก่อนที่คู่สมรสฝ่ายเยอรมันจะได้
“หนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้” Ehefähigkeitszeugnis ก็ต้องนำเอกสารของทั้งสองฝ่ายไปยื่นที่สำนักทะเบียนเยอรมัน
ซึ่งคู่สมรสฝ่ายสัญชาติไทยจึงต้องเตรียมเอกสารตัวจริงให้ครบถ้วน
รับรองที่สถานทูตเยอรมันและนำมาแปลเป็นภาษาเยอรมันก่อนที่จะส่งเอกสารไปที่ประเทศเยอรมนี
“หนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้” Ehefähigkeitszeugnis ซึ่งมีอายุไม่เกิน
6 เดือน ต้องนำมาแสดงต่อสถานทูตเยอรมัน ที่กรุงเทพฯ
เพื่อขอให้ดำเนินการออก “หนังสือรับรอง”(ชื่อภาษาเยอรมันว่า Konsularbescheinigung อ่านออกเสียงว่า
คอน-ซู-ลาร์-เบ-ไช-นิ-กุง) ตามกฎหมายไทย คู่สมรสสามารถจดทะเบียนสมรส ณ
สำนักทะเบียนเขต/อำเภอได้ทุกแห่งในประเทศไทย แต่คู่สมรสต้องนำ “หนังสือรับรอง” Konsularbescheinigung
ไปรับรองนิติกรณ์ที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ก่อนนำไปยื่นต่อนายทะเบียน
ณ สำนักทะเบียนเขต/อำเภอ เพื่อขอจดทะเบียนสมรส
หลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว
หากต้องการแจ้งการสมรสที่ประเทศเยอรมนี และ/หรือ ขอวีซ่าติดตามสามี
ก็ต้องนำต้นฉบับของใบสำคัญการสมรส (คร.3) และทะเบียนการสมรสพร้อมบันทึก
(คร.2) ที่ออกโดยสำนักทะเบียนเขต/อำเภอ
ไปรับรองที่สถานทูตเยอรมัน ว่าเป็นเอกสารที่ไม่ปลอมแปลง
การรับรองเอกสารโดยทั่วไปแล้วใช้ระยะเวลา 6-8 สัปดาห์
และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 25 - 45 ยูโรต่อ 1 ฉบับ ขึ้นอยู่กับเอกสาร สำหรับใบสำคัญการสมรส (คร.3) และทะเบียนการสมรสพร้อมบันทึก (คร.2) ที่ออกโดยสำนักทะเบียนเขตบางรัก
กรุงเทพฯ สามารถยื่นขอรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลงที่สถานทูตเยอรมัน
และรอรับเอกสารคืนได้เลย โดยเสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 25 ยูโร
และนำใบสำคัญการสมรส (คร.3) และทะเบียนการสมรสพร้อมบันทึก
(คร.2) มาแปลเป็นภาษาเยอรมัน
ทางเรามีบริการทั้งแปลและยื่นรับรองเอกสาร
หมายเหตุ บุคคลสัญชาติไทยไม่จำเป็นต้องทำหนังสือเดินทางหากประสงค์จะจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทย
เนื่องจากสามารถทำหนังสือเดินทางได้หลังจดทะเบียนสมรส
เมื่อได้เปลี่ยนชื่อสกุลในทะเบียนบ้านและทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่
การจดทะเบียนสมรสที่ประเทศเยอรมนี
คู่สมรสฝ่ายสัญชาติไทยที่ประสงค์จะเดินทางไปจดทะเบียนสมรสที่ประเทศเยอรมนีต้องเตรียมเอกสารของตน
ให้ครบถ้วนสำหรับการจดทะเบียนสมรส ดังรายละเอียดที่จะกล่าวไป
และนำมาแปลเป็นภาษาเยอรมัน
ซึ่งเอกสารต้นฉบับภาษาไทยต้องมีการยื่นรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลงที่สถานทูตเยอรมันที่ประเทศไทย
หลังจากที่เอกสารของคู่สมรสฝ่ายสัญชาติไทยได้รับการรับรองจากสถานทูตเยอรมันว่าไม่ได้ปลอมแปลงแล้ว
ต้องส่งเอกสารดังกล่าวพร้อมคำแปลที่แนบ ประกอบกับหนังสือมอบอำนาจ(ชื่อเป็นภาษาเยอรมันว่า
Beitrittserklärung อ่านออกเสียงว่า
ไบ-ทริทท์ส-แอร์-แคล-รุง) และสำเนาหนังสือเดินทางของคู่สมรส ฝ่ายสัญชาติไทย
ซึ่งต้องให้สถานทูตรับรองสำเนาถูกต้อง ลายมือชื่อก่อนให้คู่สมรสฝ่ายสัญชาติเยอรมัน
เพื่อให้คู่สมรสฝ่ายสัญชาติเยอรมันแจ้งความประสงค์เป็นลายลักษณ์อักษรในการขอจดทะเบียนสมรสที่สำนักทะเบียนเยอรมัน
ณ เมืองที่พำนักอยู่ และขอหนังสือนัดหมายจดทะเบียนสมรส ที่เรียกว่าAnmeldung zur Eheschließung (อ่านออกเสียงว่า อัน-เมล-ดุง ซัวร์ เอ-เฮอ-ชลี-ซุง)
โดยคู่สมรสฝ่ายสัญชาติเยอรมันต้องส่งเอกสารดังกล่าวตัวจริงมาให้คู่สมรสฝ่ายสัญชาติไทย
เพื่อใช้ประกอบการขอวีซ่าเพื่อการจดทะเบียนสมรส
คู่สมรสฝ่ายสัญชาติไทยต้องยื่นคำร้องขอวีซ่าเพื่อการจดทะเบียนสมรส
(ค่าธรรมเนียม 75 ยูโร)
ต่อสถานทูตเยอรมันด้วยตนเอง
พร้อมเอกสารดังต่อไปนี้ ซึ่งต้องถ่ายสำเนาอย่างละ 2 ชุด
1. เอกสารของคู่สมรสฝ่ายสัญชาติไทยพร้อมคำแปล
(เอกสารแล้วแต่กรณี ดังรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไป)
2. หนังสือเดินทางของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย
3. ประกาศนียบัตรภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน
เอ 1 “สตาร์ท
ดอยทช์ 1” (ต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี)
เฉพาะกรณีที่มี ความประสงค์ที่จะพำนักอาศัยระยะยาวที่ประเทศเยอรมนีเท่านั้น
อาจมีข้อยกเว้นบางกรณี ซึ่งควรติดต่อสอบถามที่สถานทูตเยอรมัน
4. คำร้องขอวีซ่าที่กรอกเรียบร้อยแล้ว
5. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้วหน้าเต็ม พื้นหลังต้องเป็นสีขาวเท่านั้น จำนวน 3
รูป
6. หนังสือนัดหมายจดทะเบียนสมรสจากสำนักทะเบียนที่ประเทศเยอรมนี
7. ใบนัดหมายขอยื่นวีซ่า
*หากมีข้อสงสัยประการใด กรุณาติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 095-6603642, Line:vinnybeamy
Email: beam.burry@gmail.com , website: https://sugalneetranslations.com
No comments:
Post a Comment