Friday, 18 October 2019

เรียนภาษาเยอรมัน จังหวัดอุดรธานี


สอนภาษาเยอรมันเพื่อเตรียมสอบระดับ A1-A2 และเพื่อประกอบการยื่นวีซ่าแต่งงาน วีซ่าเรียนภาษา วีซ่าเรียนภาษา วีซ่าเรียนต่อ 
วีซ่าออร์แพร์และวีซ่าทำงาน ทุกหลักสูตรสอนโดยครูคนไทย 
ที่เติบโตและเรียนที่ประเทศเยอรมนีมากกว่าสิบปี มีประสบการณ์ทางด้านภาษาเยอรมันและภาษาอื่น ๆ ทั้งด้านการสอน การแปลและการเป็นล่ามภาษาเยอรมัน การเรียนการสอนใช้หลักสูตรและหนังสือเรียนของสถาบันเกอเธ่ 
สอนตั้งแต่พื้นฐานการอ่าน การเขียน การพูดและการฟัง และติวสอบเน้นๆ แนวข้อสอบเกอเธ่ เพื่อพิชิตใบประกาศนียบัตร A1-A2 
ไม่มีพื้นฐานก็สามารถเรียนจนสอบผ่านได้ใบประกาศนียบัตรทางด้านภาษาเยอรมันได้สบายๆ เรียนง่าย เรียนสนุกรับรองผล รับรองคุณภาพ

คราสเรียนมีทั้งแบบเรียนเดี่ยวและเรียนกลุ่มเล็ก (4-6 คน)
เรียนวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 9:00-12:00, 13:00-16:00
เรียนวันเสาร์ เวลา 10:00-14:00
**ตารางเวลาเรียนเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.095-6603642,
Line: vinnybeamy, WhatsApp: +66956603642
https://www.facebook.com/germandeedeeudonthani/


















DEUTSCHKURS IN UDON THANI, THAILAND.



Sie wollen Deutsch in Udon Thani lernen. Kommen Sie zu uns. Wir bieten euch einen guten Intensiv-Deutschkurs mit Spaß und Viel Erfolg!
Es unterrichtet eine erfahrene, thailändische Deutschlehrerin die mehrere Jahre in Deutschland gelebt hat. Sie spricht Perfekt Deutsch wie die Deutschen sprechen. Ihr könnt ohne jegliche Deutschkenntnisse zu uns kommen! Fast alle unserer Schüler bestehen den ``Deutsch A-1 und  A-2 Test´´ beim ersten mal.
Unterrichtsmateral (Bücher, CDs) kommen vom Goethe Institut in Bangkok.
Das Unterrichtsziehl ist das bestehen der Sprachprüfung A1-A2 beim Goetheinstitut in Bangkok. Diese Prüfung wird um im Deutschsprachigen Raum (Deutschland, Östereich
und Schweiz) ein National Visa für Heirat , Studium, Familienachzug oder Arbeit zu bekommen.

Stundenplan: Mo-Fr 9:00-12:00, 13:00-15:30
                          Sa-So 9:00-12:00

                          
    Wir sind Mo-Sa. von 8:30 Uhr bis 18:30 Uhr für Sie erreichbar
     Email: beam.burry@gmail.com, www.sugalneetranslation.com
     https://www.facebook.com/germandeedeeudonthani/
     Tel: 095-6603642, WhatsApp: +66956603642, Line: vinnybeamy








Friday, 11 October 2019

Eheschließung mit Thailänder/in in Deutschland

Anmeldung zur Eheschließung in Deutschland

Zunächst muss der/die Verlobte bei einem deutschen Standesamt die Eheschließung anmelden bzw. einen Eheschließungstermin beantragen. In Deutschland erfolgt eine Eheschließung ebenfalls vor dem zuständigen Standesbeamten. Deswegen ist von dem/der deutschen Verlobten eine Anmeldung zur Eheschließung erforderlich. Falls die Anmeldung vom deutschen Verlobten allein vorgenommen wird, muss eine Vollmacht durch den/die thailändische/n Verlobte/n, Vollmacht zur Anmeldung der Eheschließung genannt, vorgelegt werden. Formulare dafür gibt es beim deutschen Standesamt sowie bei der Botschaft.

Vorzulegende Unterlagen zur Anmeldung der Eheschließung

Alle Dokumente müssen vollständig und im Original bei dem Standesamt vorliegen. Thailändische Urkunden müssen von einem vereidigten Urkundenübersetzer in die deutsche Sprache übersetzt werden. 
Wenn die/der Verlobte nicht die deutsche Staatsangehörigkeit besitzt, sollten Sie sich mit Ihrem Standesamt in Verbindung setzen. Dort wird ein individuelles Merkblatt für die Beschaffung der benötigten Dokumente ausgestellt.
Deutsche Verlobte benötigen:
§  Personalausweis oder Reisepass
§  Meldebestätigung bzw. Aufenthaltsbescheinigung, ausgestellt zum Zwecke der Eheschließung/ der Begründung einer Lebenspartnerschaft mit Angabe des Familienstandes, der Staatsangehörigkeit und der Wohnung, erhältlich bei der Einwohnermeldestelle des Hauptwohnsitzes
§  Geburtsurkunde bzw. beglaubigte Abschrift aus dem Geburtenregister
Thailändische Verlobte benötigen oft Urkunden im Original mit Legalisation* und beglaubigter Übersetzung in die deutsche Sprache:
§  Personalausweis oder Reisepass
§  thail. Ledigkeitsbescheinigung/ Familienstandsbescheinigung, ausgestellt durch das zuständige Standesamt oder die Thailändische Botschaft in Deutschland
§  Auszug aus dem thail. Zentralregister, ausgestellt vom thailändischen Zentralregisteramt in Bangkok
§  Geburtsurkunde bzw. beglaubigte Abschrift aus dem Geburtenregister
§  Hausregisterauszug oder Melderegisterauszug
Zusätzlich, wenn ein gemeinsames Kind vorhanden ist:
§  Geburtsurkunde oder beglaubigter Ausdruck aus dem Geburtenregister des gemeinsamen Kindes, ggf. Nachweis der gemeinsamen Sorge
Zusätzlich, wenn ein Partner geschieden oder verwitwet ist:
§  Ein urkundlicher Nachweis über die Auflösung der letzten Ehe/ die Aufhebung der letzten eingetragenen Lebenspartnerschaft
§  Scheidungsurteil oder der Sterbeurkunde des früheren Ehegatten 
§  die Heiratsurkunde der letzten Ehe mit Scheidungsvermerk oder Eintragung des Todes, erhältlich beim Eheschließungsstandesamt
Bei im Ausland geschiedener Ehe ist vorab ein persönliches Gespräch wegen möglicher Anerkennungsverfahren notwendig. Bringen Sie hierzu alle Urkunden und rechtskräftige Scheidungs- und Aufhebungsurteile mit vollständiger Übersetzung mit.
Auch hier empfiehlt sich eine zusätzliche Rückfrage beim deutschen Standesbeamten nach ggf. darüber hinaus erforderlichen Urkunden. Bezüglich der Aufnahme einer gleichgeschlechtlichen Lebensgemeinschaft wenden Sie sich bitte an Ihr zuständiges Standesamt. In der Regel müssen dafür die gleichen Unterlagen vorgelegt werden, wie für eine Eheschließung.
*Info zur Legalisation bei der Deutschen Botschaft Bangkok: PDF von der Deutschen Botschaft Bangkok
Für die Übersetzungen kontaktieren Sie uns unter

Tel. (+66) 956603642, Line: vinnybeamy ,Email: beam.burry@gmail.com

จดทะเบียนสมรสกับคนเยอรมัน

    การจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทย

    คู่สมรสฝ่ายสัญชาติเยอรมันจะต้องนำ หนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้”ในประเทศไทย (ชื่อภาษาเยอรมันว่า Ehefähigkeitszeugnis อ่านออกเสียงว่า เอ-เฮอ-แฟ-ฮิก-ไคท์-ซอยก์-นิส) ก่อนที่คู่สมรสฝ่ายเยอรมันจะได้ “หนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้” Ehefähigkeitszeugnis ก็ต้องนำเอกสารของทั้งสองฝ่ายไปยื่นที่สำนักทะเบียนเยอรมัน ซึ่งคู่สมรสฝ่ายสัญชาติไทยจึงต้องเตรียมเอกสารตัวจริงให้ครบถ้วน รับรองที่สถานทูตเยอรมันและนำมาแปลเป็นภาษาเยอรมันก่อนที่จะส่งเอกสารไปที่ประเทศเยอรมนี

    หนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้” Ehefähigkeitszeugnis ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 เดือน ต้องนำมาแสดงต่อสถานทูตเยอรมัน ที่กรุงเทพฯ เพื่อขอให้ดำเนินการออก หนังสือรับรอง”(ชื่อภาษาเยอรมันว่า Konsularbescheinigung อ่านออกเสียงว่า คอน-ซู-ลาร์-เบ-ไช-นิ-กุง) ตามกฎหมายไทย คู่สมรสสามารถจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนเขต/อำเภอได้ทุกแห่งในประเทศไทย แต่คู่สมรสต้องนำ “หนังสือรับรอง” Konsularbescheinigung ไปรับรองนิติกรณ์ที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ก่อนนำไปยื่นต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนเขต/อำเภอ เพื่อขอจดทะเบียนสมรส

    หลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว หากต้องการแจ้งการสมรสที่ประเทศเยอรมนี และ/หรือ ขอวีซ่าติดตามสามี ก็ต้องนำต้นฉบับของใบสำคัญการสมรส (คร.3) และทะเบียนการสมรสพร้อมบันทึก (คร.2) ที่ออกโดยสำนักทะเบียนเขต/อำเภอ ไปรับรองที่สถานทูตเยอรมัน ว่าเป็นเอกสารที่ไม่ปลอมแปลง การรับรองเอกสารโดยทั่วไปแล้วใช้ระยะเวลา 6-8 สัปดาห์ และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 25 - 45 ยูโรต่อ 1 ฉบับ ขึ้นอยู่กับเอกสาร สำหรับใบสำคัญการสมรส (คร.3) และทะเบียนการสมรสพร้อมบันทึก (คร.2) ที่ออกโดยสำนักทะเบียนเขตบางรัก กรุงเทพฯ สามารถยื่นขอรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลงที่สถานทูตเยอรมัน และรอรับเอกสารคืนได้เลย โดยเสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 25 ยูโร และนำใบสำคัญการสมรส (คร.3) และทะเบียนการสมรสพร้อมบันทึก (คร.2) มาแปลเป็นภาษาเยอรมัน ทางเรามีบริการทั้งแปลและยื่นรับรองเอกสาร

    หมายเหตุ   บุคคลสัญชาติไทยไม่จำเป็นต้องทำหนังสือเดินทางหากประสงค์จะจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทย เนื่องจากสามารถทำหนังสือเดินทางได้หลังจดทะเบียนสมรส เมื่อได้เปลี่ยนชื่อสกุลในทะเบียนบ้านและทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่


       
    การจดทะเบียนสมรสที่ประเทศเยอรมนี
    คู่สมรสฝ่ายสัญชาติไทยที่ประสงค์จะเดินทางไปจดทะเบียนสมรสที่ประเทศเยอรมนีต้องเตรียมเอกสารของตน ให้ครบถ้วนสำหรับการจดทะเบียนสมรส ดังรายละเอียดที่จะกล่าวไป และนำมาแปลเป็นภาษาเยอรมัน ซึ่งเอกสารต้นฉบับภาษาไทยต้องมีการยื่นรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลงที่สถานทูตเยอรมันที่ประเทศไทย

    หลังจากที่เอกสารของคู่สมรสฝ่ายสัญชาติไทยได้รับการรับรองจากสถานทูตเยอรมันว่าไม่ได้ปลอมแปลงแล้ว ต้องส่งเอกสารดังกล่าวพร้อมคำแปลที่แนบ ประกอบกับหนังสือมอบอำนาจ(ชื่อเป็นภาษาเยอรมันว่า Beitrittserklärung อ่านออกเสียงว่า ไบ-ทริทท์ส-แอร์-แคล-รุง) และสำเนาหนังสือเดินทางของคู่สมรส ฝ่ายสัญชาติไทย ซึ่งต้องให้สถานทูตรับรองสำเนาถูกต้อง ลายมือชื่อก่อนให้คู่สมรสฝ่ายสัญชาติเยอรมัน เพื่อให้คู่สมรสฝ่ายสัญชาติเยอรมันแจ้งความประสงค์เป็นลายลักษณ์อักษรในการขอจดทะเบียนสมรสที่สำนักทะเบียนเยอรมัน ณ เมืองที่พำนักอยู่ และขอหนังสือนัดหมายจดทะเบียนสมรส ที่เรียกว่าAnmeldung zur Eheschließung (อ่านออกเสียงว่า อัน-เมล-ดุง ซัวร์ เอ-เฮอ-ชลี-ซุง) โดยคู่สมรสฝ่ายสัญชาติเยอรมันต้องส่งเอกสารดังกล่าวตัวจริงมาให้คู่สมรสฝ่ายสัญชาติไทย เพื่อใช้ประกอบการขอวีซ่าเพื่อการจดทะเบียนสมรส

    ก่อนการยื่นขอวีซ่า ต้องมีการนัดหมายล่วงหน้าทางเว็บไซต์ของสถานทูต www.bangkok.diplo.de 

    คู่สมรสฝ่ายสัญชาติไทยต้องยื่นคำร้องขอวีซ่าเพื่อการจดทะเบียนสมรส (ค่าธรรมเนียม 75 ยูโร) 
    ต่อสถานทูตเยอรมันด้วยตนเอง พร้อมเอกสารดังต่อไปนี้ ซึ่งต้องถ่ายสำเนาอย่างละ 2 ชุด


    1.      เอกสารของคู่สมรสฝ่ายสัญชาติไทยพร้อมคำแปล (เอกสารแล้วแต่กรณี ดังรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไป)
    2.      หนังสือเดินทางของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย
    3.      ประกาศนียบัตรภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน เอ 1 “สตาร์ท ดอยทช์ 1” (ต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี) เฉพาะกรณีที่มี ความประสงค์ที่จะพำนักอาศัยระยะยาวที่ประเทศเยอรมนีเท่านั้น อาจมีข้อยกเว้นบางกรณี ซึ่งควรติดต่อสอบถามที่สถานทูตเยอรมัน
    4.      คำร้องขอวีซ่าที่กรอกเรียบร้อยแล้ว
    5.      รูปถ่ายขนาด 2 นิ้วหน้าเต็ม พื้นหลังต้องเป็นสีขาวเท่านั้น จำนวน 3 รูป
    6.      หนังสือนัดหมายจดทะเบียนสมรสจากสำนักทะเบียนที่ประเทศเยอรมนี
    7.      ใบนัดหมายขอยื่นวีซ่า   
 *หากมีข้อสงสัยประการใด กรุณาติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 095-6603642, Line:vinnybeamy
  Email: beam.burry@gmail.com , website: https://sugalneetranslations.com

เรียนเยอรมันออนไลน์ อุดรธานี

สอนและติวสอบเยอรมันออนไลน์ เรียนได้ทุกที่ทั่วไทยทั่วโลก  สอนตั้งแต่พื้นฐานการอ่าน การเรียน การฟังและการพูด  ปรับพื้นฐานไวยกรณ์และติวแนวข้อสอ...